adyim.com RiF-iT

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557


ความหมายของข้อมูล
     ข้อมูล(Data) คือ สิ่งต่างๆ หรือข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่างๆ ข้อมูลที่ได้รับมีทั้งดีและไม่ดี การนำข้อมูลที่ดีมาใช้จะทำให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารและการตัดสินใจ ลักษณะของข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (Accuracy) ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) และมีความทันสมัย (Timeliness)

     ข้อมูลสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการ ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้และเกณฑที่นำมาพิจารณา

     1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล เป็น การแบ่งข้อมูลขั้นพื้นฐานโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัส (Sense) ของร่างกาย ได้แก่ ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น และข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง

     2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล
               - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากจุดกำเนิดของช้อมูลนั้นๆ เป็นการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจัดเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
               - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้แล้วมาใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมหรือบันทึกด้วยตนเอง จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลแล้ว บางครั้งจึงไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และข้อมูลที่ได้มีความคลาดเคลื่อน ไม่ทันสมัย ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2550

     3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี ลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจะตั้งตามประเภทของข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้สร้างข้อมูล ได้แก่
               - ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .txt และ .doc
               - ข้อมูลภาพ (Image Data) เช่น ภาพกราฟิกต่างๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .bmp .gif และ .jpg
               - ข้อมูลเสียง (Sound Data) เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .wav .mp3 และ .au
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) เช่นภาพเคลื่อนไหว ภาพมิวสิควีดีโอ ภาพยนตร์ คลิปวีดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .avi

     4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์ มี ลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาก แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
               - ข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data) มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น จำนวนเงินในกระเป๋า จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
               - ข้อมูลอักขระ (Character Data) มีลักษณะเป็นตัวอักษร ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บ้าน และชื่อของนักเรียน
               - ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data) เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคาร และกราฟ
               - ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data) เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็น หลัก ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อหรือขยาย และตัดต่อได้ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้

ความหมายของสารสนเทศ
          สารสนเทศ (Information) คือสิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการวางแผน การพฒนา การควบคุม และการตัดสินใจ สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ มีความทันสมัย โดยมีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย


สารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น
          1.  การแบ่งสารสนเทศตามหลักคุณภาพ ได้แก่ สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
          2.  การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด ได้แก่ สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร
          3.  การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้ ได้แก่ สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์ สารสนเทศสาขาสังคมศาสตร์ สารสนเทสสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสารสนเทศสาขาอื่นๆ
          4.  การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน ได้แก่ สารสนเทศด้านการตลาด สารสนเทศด้านการวิจัย และพัฒนาบุคลิกภาพ และสารสนเทศด้านการเงิน
          5.  การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ ได้แก่ สารสนเทศที่เน้นวิชาการ สารสนเทศที่เน้นเทคนิค สารสนเทศที่เน้นบุคคล และสารสนเทศที่เน้นปฏิบัติ
          6.  การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ ได้แก่ สารสนเทศระยะเริ่มแรกและสารสนเทศระยะยาว
          7.  การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ ได้แก่ สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศปรุงแต่ง
          8.  การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ ได้แก่ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นข้อความ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
          9.  การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น ได้แก่ สารสนเทศที่ทำประจำ สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย และสารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
 
 

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

       การสร้างงานนำเสนอด้วย Microsoft PowerPoint สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ ทั้งการพิมพ์เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ การนำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย และการสร้างจุดเชื่อมโยงและอัปโหลดข้อมูลไว้บนอินเตอร์เน็ตในรูปแบบเว็บไซต์


การใช้งานเบื้องต้น

   1. วิธีการเรียกใช้งาน ในการเรียกใช้งาน Microsoft PowerPoint สามารถทำได้ 2 วิธี            - เรียกใช้งานโดยการ ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน
          - คลิกที่ปุ่ม start -> เลือก All Programs -> เลือก Microsoft Office -> แล้วเลือกคลิกที่ Microsoft Office PowerPoint จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรมดังรูป

 

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

     การนำเสนอข้อมูลเป็นกระบวนการทำงานเพื่อให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้นำเสนอต้องการให้ผูรับข้อมูลรู้ การเสนองานสามารถปฏิบัติได้อย่างหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
       1 . เอกสารสิ่งพิมพ์
       2.  มัลติมีเดีย
       3.  เว็บไซต์

1. เอกสารสิ่งพิมพ์ 

     เอกสารสิ่งพิมพ์เป็นการนำเสนองานที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากทำง่าย สัมผัสได้ และใช้เป็นหลักฐานในการนำเสนอข้อมูลได้ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ส่งเสริมการทำงานด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบ บนสื่อต่างๆ และ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์

     ข้อดีของการนำเสนองานด้วยเอกสารสิ่งพิมพ์

       1.เสนอข้อมูลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ ภาพนิ่ง แผนภูมิ แผนผัง และกราฟ
       2.สร้างได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และใช้เวลาในการสร้างน้อย
       3.สามารถนำเสนอได้ทุกที่ ทุกเวลา
       4.ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอื่นๆมาช่วยในการนำเสนอ
       5.เป็นพื้นฐานของการนำเสนอในรูปแบบอื่น
       6.ประยุกต์ใช้กับการนำเสนองานในรูปแบบอื่นได้หลากหลาย

2.  มัลติมีเดีย (Multimedia)

     การนำเสนอข้อมูลหลายๆรูปแบบพร้อมๆกันเพื่อส่งเสริมความรู้และความเข้าใจของผู้รับข้อมูล ปัจจุบันมีการพัฒนามัลติมีเดียอย่างต่อเนื่องทำให้มีความสวยงามสมจริงตลอดจนสามารถพัฒนาให้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้ การสร้างงานนำเสนอประเภทนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพมากกว่างานเอกสารสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ์ดจอ การ์ดเสียง และลำโพง

     ข้อดีของการนำเสนองานด้วยมัลติมีเดีย

       1.เสนอข้อมูลได้ในรูปแบบของ ตัวหนังสือ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
       2.ผู้รับสามารถเลือกรับข้อมูลจากจุดใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับเนื้อหา
       3.นำไปใช้กับการเสนองานในรูปแบบอื่นได้ เช่น ภาพยนตร์ เกม เว็บไซต์

 3.เว็บไซต์ (Website)

     การนำเสนอข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทาให้สามารถนำเสนอได้ครอบคลุมทั่วโลก การสร้างงานนำเสนอประเภทนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการทำงานบนอินเตอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ เช่น การ์ดแลน ลำโพง วิดีโอแคม โมเด็ม ส่วนซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรมเว็บบราวน์เซอร์ Dremweaver Notepad  เป็นต้น

     ข้อดีของการนำเสนองานด้วยเว็บไซต์

       1.นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวหนังสือ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
       2.สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตได้
       3.ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
       4.มีการปฏิสัมพันธ์และตอบสนองต่อผู้รับข้อมูล
       5.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกับผู้นำเสนอได้ทันที


วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของการนำเสนอข้อมูล

       การนำเสนอข้อมูล คือ การส่งข้อมูลจากผู้นำเสนอข้อมูลไปสู่ผู้รับข้อมูล ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้นำเสนอ
       ประสิทธิภาพของการนำเสนอข้อมูลควรพิจารณาจากความพร้อมของผู้นำเสนอ ผู้รับข้อมูล ข้อมูล และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเสนอข้อมูล


องค์ประกอบในการนำเสนอ 
  1.  ผู้นำเสนอ หรือ ผู้ส่งข้อมูล เป็นผู้ที่มีบทบามสำคัญที่สุดในการนำเสนอ  ผู้นำเสนอที่ดีจะต้องวิเคราะห์ผู้รับข้อมูล  ศึกษางานหรือข้อมูลนั้น  ตลอดจนสร้างหรือเอกใช้สื่อและโพรโตคอลที่มีคุณภาพ  เพื่อให้การนำเสนองานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2.  ผู้รับข้อมูล เป็นผู้รับข้อมูลจากผู้นำเสนอ  ถ้ามีการนำเสนอที่ดีผู้รับข้อมูลจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผู้นำเสนอต้องการ
  3.  งาน หรือ ข้อมูล  เป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้รับข้อมูลผ่านสื่อและโพรโตคอลต่าง ๆ
  4.  สื่อ หรือ ตัวกลาง  เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไปยังผู้รับข้อมูล  สื่อพื้นฐานในการนำเสนองาน  คือ  อากาศ  เช่น  การนำเสนอสินค้าของพนักงานด้วยการพูดคุยกับผู้ซื้อสินค้า  ปัจจุบันสื่อที่ใช้ในการนำเสนอมีพัฒนาการมากขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย  เช่น  การนำเสนอสินค้าผ่านทางข้อความในโทรศัพท์เคลื่อนที่
  5.  โปรโตคอล  เป็นวิธีการที่ผู้นำเสนอใช้ถ่ายทอดงานให้แก่ผู้รับข้อมูล  โพรโตคอลมีทั้งแบบเฉพาะเจาะจง  คือ  ผู้รับข้อมูลจะรับข้อมูลจากการนำเสนองานนั้นโดยตรง  เช่น  การเข้าร่วมสัมมนา  การอบรม  การใช้เว็บไซต์ส่งเสริมการศึกษา  และโพตโตคอลแบบไม่เฉพาะเจาะจง  คือ  โพรโตคอลที่ผู้นำเสนอแฝงข้อมูลที่ต้องการนำเสนอไว้ในสื่ออื่น ๆ และผู้รับข้อมูลไม่ตั้งใจที่จะรับข้อมูลนั้น  แต่ถูกผู้นำเสนอโน้มน้าวให้เกิดตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนองานนั้น  เช่น  การโฆษณาสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลมีดังนี้ 
  1. ตัวหนังสือหรือตัวอักษร (text) เป็นข้อมูลพื้นฐานที่นิยมใช้ในงานนาเสนอทุกงาน การนำเสนอแบบนี้ควรพิจารณาขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร สีพื้นหลัง และรูปแบบของตัวหนังสือ ฮาร์ดแวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ เครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์                                                                              ซอฟต์แวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ Microsoft Word , Microsoft PowerPoint , Microsoft Pubilsher

    2. รูปภาพหรือ (Image) รูปภาพหรือภาพนิ่งควรเป็นภาพสีที่มีความชัดเจน ฮาร์ดแวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ กล้องดิจิทัล,สแกนเนอร์,เครื่องพิมพ์
                       
    ซอฟต์แวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือAdobe photoshop , microsoft paint , coraldraw

    3. แผนภูมิ แผนผัง และกราฟ (Diagram) เป็นข้อมูลที่ช่วยสรุปรายละเอียด ที่มีจานวนมาก ให้นาเสนอในลักษณะที่น่าสนใจมากขึ้น เหมาะสาหรับข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบ ฮาร์ดแวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ เครื่องพิมพ์
                                  
    ซอฟต์แวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ Microsoft Excel , microsoft word , microsoft Access

    4. เสียง (sound) เป็นข้อมูลที่ช่วยให้การนาเสนอมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ระดับเสนอที่ใช้ไม่ควรดังหรือค่อยจนเกินไป ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะปิดหรือเปิดได้ ฮาร์ดแวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ ลาโพงและไมโครโฟน
                       
    ซอฟต์แวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ WinAmp , JetAudio , GomPlayer ,VLC media player , 

    5. ภาพเคลื่อนไหว (motion) พัฒนามาจากภาพนิ่ง ด้วยการเรียงภาพนิ่งหลายๆภาพด้วยความเร็วสูง ทาให้มีลักษณะเหมือนวัตถุกาลังเคลื่อนไหว ฮาร์ดแวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ กล้องวิดีโอและกล้องดิจิทัลที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้
                                  
    ซอฟต์แวร์ ที่ส่งเสริมการนำเสนอข้อมูลคือ Macromedia Flash , Macromedia Dreamweaver , 3D studio

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556




1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
                หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน  ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น  ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย  ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์  ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น  ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม  ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ
                หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น  เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน  เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน  เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ  เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม  เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน
4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
                หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก
5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
                หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง  ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย  ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน  ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง
6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ  สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด  แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์  ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์
7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
                หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด  สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
           
8. ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
                หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์  ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน  ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ  ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน  ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม
9. ครู คือ ปูชนียบุคคล
หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต  ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต  พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
10. ครู คือ วิศวกรสังคม
                หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย  ครูทำงานพัฒนา  ครูทำงานออกแบบ  ครูทำงานผลิต  ครูทำงานก่อนสร้าง  ครูทำงานควบคุมโรงเรียน   ครูทำงานทดสอบ  ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง